เทคนิคการพูดแรกสุดเลยที่ถือว่าเป็นพื้นฐานของการพูดในทุก ๆ รูปแบบ หรือทุกการสื่อสารเลยก็ว่าได้ ก็คือ การใช้คำพูดในเชิงบวกค่ะ เพราะในทางจิตวิทยาและคนฟังทุกคนต้องการฟังคำพูดที่ทำให้ตนเองรู้สึกดี เช่น คำชื่นชม คำที่แสดงถึงความห่วงใย หรือถ้อยคำที่แสดงถึงเจตนาที่ดี ซึ่งเทคนิคการใช้คำพูดเชิงบวกนี้สามารถนำไปใช้ในการวิพากษ์วิจารณ์ หรือให้ข้อเสนอแนะต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะจะช่วยลดความรุนแรงของการสื่อสาร และยังเพิ่มเสน่ห์ให้แก่ผู้พูดอีกด้วย
มีบ่อยครั้งที่เราตัดสินใจไม่ซื้อสินค้าหรือบริการจากคนขาย เพราะคนขายคนนั้นพูดจาโจมตีคู่แข่ง ซึ่งในความคิดของคนพูดอาจเป็นการยกระดับตนเองให้เหนือกว่าคู่แข่ง แต่สำหรับคนฟังแล้ว คำพูดเหล่านั้นแสดงถึงทัศนคติเชิงลบของคนพูดที่ไม่น่ารัก ไม่น่าคบหาเอาเสียเลยค่ะ เนื่องจากเรามีวิธีมากมายที่จะสามารถพูดให้ตนเองดูดี หรือโน้มน้าวให้คนฟังเชื่อใจ โดยไม่ต้องโจมตี หรือยกข้อเสียของผู้อื่นมาพูดถึง ยิ่งเราพูดถึงข้อเสียของคนอื่นมากเท่าไร การสื่อสารของเราก็จะกลายเป็น “การนินทา” ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ มากท่านั้น
ผู้พูดที่ดีหลายท่าน เช่น รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หรือ Oprah Winfrey ต่างก็เป็นผู้ฟังที่ดี โดยเมื่อมีคนมาพูดคุยกับเขา เขาเหล่านี้จะตั้งใจฟัง ไม่ใช่เพียงรับฟังด้วยหู แต่รับฟังด้วยใจ ทำให้เขาได้ยินทั้งสิ่งที่เราพูดออกไป และสิ่งที่เราไม่ได้พูด คือ ความรู้สึกของเรา ซึ่งการเป็นผู้ฟังที่ดีนั้นเป็นทักษะที่จำเป็นในทุกอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพนักจิตวิทยา และผู้ให้คำปรึกษา เพราะเราจะไม่สามารถให้คำปรึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพเลยค่ะ ถ้าเราไม่ได้ฟังถึงปัญหาที่แท้จริง
shorturl.asia/ugsqC เทคนิคการพูดที่สะกดใจคนฟังได้ดีที่สุด ก็คือ สั้น กระชับ เข้าใจง่าย และตรงประเด็น เพราะหากเราพูดยืดเยื้อ ไม่เข้าประเด็นเสียที ก็มีแนวโน้มอย่างมากเลยค่ะที่คนฟังจะเบื่อ และไม่ทนฟังเราอีกต่อไป ทำให้การสื่อสารของเราไม่เกิดผล แต่ถ้าเราใช้คำที่คนฟังเข้าใจได้ง่าย มองเห็นภาพชัดเจน และตรงประเด็น คนฟังจะตั้งใจฟัง และเข้าใจเราได้ง่าย สามารถตอบสนองต่อความต้องการของเราได้อย่างรวดเร็วแน่นอน
ซุนวู กล่าวไว้ว่า “รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง” หมายความว่า หากเรารู้จักตนเอง รู้ว่าเราเป็นใคร ต้องการสิ่งใด มีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร ไปพร้อม ๆ กับรู้ว่าอีกฝ่ายคือใคร ต้องการสิ่งใด มีจุดแข็ง จุดอ่อนอย่างไร ไม่ว่าจะทำสงคราม หรือติดต่อประสานงานเรื่องใดก็ตาม มีแนวโน้มสูงที่จะประสบความสำเร็จค่ะ ซึ่งในการสื่อสาร หรือการพูดก็เป็นเช่นเดียวกัน คือ ถ้าเรารู้ว่าจุดประสงค์ของการพูดของเราคืออไร และคนฟังต้องการอะไร ชอบวิธีการพูดแบบไหน เราก็สามารถพูดด้วยวิธีที่เหมาะสม ทำให้เขาเข้าใจ และทำตามความต้องการของเราได้อย่างแน่นอน
การพูดที่ดีนั้น นอกจากจะต้องใส่ใจในวิธีการพูด และเนื้อความจะพูดแล้ว เราควรจะต้องใส่ใจในความรู้สึกของอีกฝ่ายด้วยว่า หากเขาได้ฟังสิ่งที่เราพูด เขาจะมีความรู้สึกอย่างไร เพราะบ่อยครั้งที่เราสนิทกันมาก เราก็จะมีความใส่ใจ ความเกรงใจกันน้อยลง จนเราเผลอพูดจาทำร้ายจิตใจอีกฝ่ายโดยที่เราไม่รู้ตัว นั่นทำให้อีกฝ่ายเสียความรู้สึก ส่งผลให้การพูดในครั้งต่อ ๆ ไปของเราไม่ประสบความสำเร็จค่ะ
หนึ่งในอุปนิสัยของผู้ประสบความสำเร็จตามแนวคิด 7 Habits คือ คิดแบบชนะ - ชนะ (Think Win - Win) หมายความว่า ในการพูดคุย ติดต่อสื่อสาร หรือร่วมงานกับใครสักคน หรือกับทีมงาน เราต้องมีการสร้างประโยชน์ร่วมกัน คือ ทุกฝ่ายต้องได้ประโยชน์ โดยต้องมีความยุติธรรม ใจกว้าง และรักษาผลประโยชน์ของทุกฝ่าย ซึ่งการใช้เทคนิคนี้จะช่วยรักษาความสัมพันธ์ของเราและคู่สนทนาให้ยืนยาวได้
การคล้อยตาม หรือ Conformity ในทางจิตวิทยาหมายถึง การแสดงออกว่าเชื่อถือ ยอมตามอีกฝ่าย ผ่านคำพูด พฤติกรรม การกระทำ ซึ่งทำให้อีกฝ่ายเกิดความรู้สึกว่าเราเป็นพวกเดียวกับเขา ซึ่งจะส่งผลให้การสนทนาราบรื่น ลื่นไหล และสามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนพูดและคนฟังได้ โดยจะเป็นผลดีทั้งในระยะสั้น และระยะยาวในการติดต่อสื่อสารให้บรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งเป้าเอาไว้
โพสต์โดย : เจ้าหนู เมื่อ 13 มิ.ย. 2567 01:17:53 น. อ่าน 31 ตอบ 0